แนวทางการบริหารโรงเรียนมหาไถ่ศึกษาเมืองพล

ผู้บริหารมีการบริหารแบบมีส่วนร่วมรวมพลัง ม.ถ.พ.

JLS MODEL

“รูปแบบความรักและการรับใช้”

นิยามศัพท์

คำว่า  JLS  ย่อมาจากคำว่า Jesus องค์พระมหาไถ่ , Love และ service หรือการรับใช้ ซึ่งแปลความดังนี้

J = JESUS (องค์พระมหาไถ่)

องค์อุปถัมภ์ของโรงเรียน ผู้เป็นแบบอย่างในการบริหารงานและดูแลนักเรียนด้วยความรักและความใส่ใจของผู้บริหารและคณะครูโรงเรียนมหาไถ่ศึกษาเมืองพล

L = LOVE (ความรัก)

คือสุดยอดแห่งความเป็นมนุษย์ตามแบบของพระเยซูคริสตเจ้าเป็นทั้งเป้าหมายและพลังขับเคลื่อนการบริหารจัดการโรงเรียนมหาไถ่ศึกษาเมืองพล

S = SERVICE (การรับใช้)

คือการแสดงออกซึ่งความรัก โดยการอบรมบ่มสอนนักเรียนให้บรรลุผลสำเร็จ กำหนด สอดคล้องกับนโยบายของรัฐ และสมานฉันท์กับบริบทของสังคมยุคปัจจุบัน ทั้งนี้ โดยยึดหลักเด็กหรือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

วิสัยทัศน์/เป้าประสงค์

ครู และนักเรียนโรงเรียนมหาไถ่ศึกษาเมืองพล เป็นบุคคลที่สมบูรณ์ด้วยความรัก ความรู้ ทักษะที่จำเป็น และการเป็นบุคคลเพื่อผู้อื่น

ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ/ดำเนินการ JLS

ขั้น J = JESUS:องค์พระมหาไถ่

  1. มีการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจที่โรงเรียนกำหนดชัดเจน
  2. มีการจัดระบบบริหารจัดการด้วยระบบ PDCA
  3. การกำหนดผู้รับผิดชอบ
  4. การกำหนดปฏิทินปฏิบัติงาน
  5. การกำหนดรูปแบบการพัฒนาที่ตรงจุดที่ควรพัฒนา

ขั้น L=LOVE:ความรัก/เข้าถึง

1. มีระบบบริหารอย่างมีคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

2. การนิเทศแบบมีส่วนร่วมอย่างเป็นกัลยาณมิตร

3. การนำผลการนิเทศติดตามมา

4. การนำเสนอแนวทางการพัฒนา

5.  การมีส่วนร่วมในการเลือกรูปแบบเพื่อพัฒนา

ขั้น S= SERVICE:การรับใช้/พัฒนาและประเมิน

1.   พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ

2.   ดำเนินงานพัฒนาทางวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย

3.   จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

4.   จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการการจัดการเรียนรู้

5.   การสร้างเครื่องมือประเมินที่เหมาะสม

6.   การใช้วิธีการสังเกต สัมภาษณ์ ศึกษาเอกสาร

7.   การสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง